บทความกล้อง





ความเหมือนที่แตกต่างระหว่างกล้อง Dome และ Speed Dome
      บทความต่อไปนี้เป็นการแนะนำอุปกรณ์กล้องวงจรปิด ในตลาดบ้านเรามีอยู่หลายประเภท ผมขอเท้าความก่อน เช่น กล้องมาตรฐาน(กล้องกระบอก)  ซึ่งแยกชนิดออกเป็น กล้องธรรมดา (กล้องที่รับภาพได้ในพื้นที่มีมีแสงเพียงพอ) กล้องวงจรปิดชนิดที่เป็น Day night(DN) (กล้องที่สามารถรับภาพได้ในพื้นที่ที่มีแสงน้อย ได้ดี) กล้องวงจรปิดชนิด อินฟราเรด (กล้องที่รับภาพได้ในพื้นที่ไม่มีแสงเลย ภาพที่ได้จะเป็นขาวดำ) กล้องวงจรปิด ชนิด Dome (กล้องที่มีฝาครอบกล้อง เลนส์ที่ใช้จะเป็นขนาดเล็ก เหมาะกับการติดตั้งภายใน)  กล้องวงจรปิดอีกชนิดนึ่งที่พิเศษขั้นมาอีกก็คือกล้อง ประเภทแบบ Zoom ได้ (Zoom ผ่านเลนส์ ราคาจะสูงกว่ากล้องชนิดอื่นๆ)  อุปกรณ์ที่ผมได้กล่าวมาเบื้องต้นนี้ จะเป็นกล้องชนิดที่ เจาะจงพื้นที่ตายตัวไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ปรับขนาดของเลนส์ได้แต่ต้องใช้คนขึ้นไปปรับ ยกเว้นประเภทกล้อง ที่Zoom ได้ เท่านั้น  
      ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยการผสมผสานกันระหว่างกล้อง Dome และ กล้องที่ Zoom ได้ ต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น มอเตอร์ ให้สามารถหมุนได้ รอบทิศทาง หรือ Zoom ภาพได้ตามที่เราต้องการ ภาษาช่างเรียกว่ากล้อง Pan Tile Zoom (PTZ)  ปกติการใช้ระบบควบคุมกล้องชนิดนี้ จะต้องเดินสายนอกเหนือจากสายสัญญาณภาพแล้วต้องมีสายที่ต่อพ่วงเพื่อควบคุม การหมุน และ Zoom ภาพ พร้อมกับอุปกรณ์การควบคุมกล้อง เรียกว่า Keyboard มาเป็นองค์ประกอบการควบคุมกล้อง หรือ ปัจจุบัน เครื่องบันทึกทั่วไปสามารถควบคุมกล้อง PTZ นี้ได้จาก ตัวฟังก์ชั่นของเครื่องเองก็ได้ โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ประเภท keyboard นี้เลย  
กล้อง Dome
      ข้อสังเกตระหว่างกล้อง Dome กับ กล้อง Speed Dome นั้นมีดังนี้ คือ ในเรื่องของตัวอุปกรณ์ กล้อง Dome จะมีขนาดเล็กเหมาะกับการติดไว้ตามมุมห้องภายในอาคาร ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก Office ห้องประชุม ไม่เหมาะกับการติดไว้ภายนอกเพราะอุปกรณ์ชนิดนี้จะไม่กันน้ำ  สนราคาก็จะถูก ขนาดของเลนส์ ก็จะได้ ตั้งแต่ 3.8 mm ขึ้นไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้เลนส์ที่เป็นชนิด 2.8 mm หรือ เลนส์ กว้างได้  อุปกรณ์ที่ครอบกล้องก็เป็นชนิด พลาสติก  ซึ่งต่างจากกล้อง Speed Dome  
กล้อง Speed Dome
      เป็นกล้องที่มีชนิดแบบ ภายในและภายนอก สามารถปรับองศาของกล้องได้ Zoom ภาพ ได้ หมุนได้ 360 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ที่กว้างมาก ความสำคัญของพื้นที่นั้นมีความสำคัญพอๆกัน โดยติดต้องหนึ่งตัวสมารถดูภาพได้ทั่วห้อง เหมาะสำหรับโกดัง หรือ โรงงานที่มีพื้นที่กว้างๆ ต้องการดูภาพรวม และ ในขณะเดียวกันภาพที่เจาะจงวัตถุนั้นได้ ราคาจะแพงกว่า กล้อง Dome 
หลายเท่าตัว  
      อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับมาตรฐานของสินค้าในแต่ที่ และที่สำคัญการดูภาพอย่างที่เราต้องการต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมการทำงาน ของตัวอุปกรณ์อยู่ตลอดเวลา เพราะหลักการทำงานของตัวกล้องจะทำการหมุนไปตลอดเวลา การหยุด หรือ Zoom ต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมเท่านั้น (เสียเจ้าหน้าที่อีกหนึ่งคนไว้คอยควบคุมอุปกรณ์)อุปกรณ์ กล้อง Speed Dome จะมีขนาดใหญ่ กว่ากล้อง Dome มาก การทำงานสับซ้อนมากกว่า ฟังก์ชั่นในการควบคุมกล้องก็มากกว่า  
      เป็นไงบ้างครับพอที่จะเข้าใจบ้างหรือเปล่า ครับบางทีเรามองภายนอกอาจจะดูเหมือนกันแต่ จริงๆแล้วต่างกันสิ้นเชิง ตัดสินใจให้ดีก่อนเลือกซื้อนะครับ จะได้ของดีและตรงกับความต้องการของเรา.


______________________________________________________________________________

ว่าด้วยเรื่องของสายสัญญาณ

“สายแกนร่วม” หรือ RG (Radio Guide) หรือ สายนำสัญญาณวิทยุ เพื่อป้องกันการสับสนมันคือสายชนิดเดียวกันนั่นเอง
สาย RG6 ส่วนใหญ่แล้วใช้ในงาน ด้านกล้องวงจรปิด สายอากาศทีวี สายจานดาวเทียม หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหลักๆ จะประกอบไปด้วย

            1. Conductor (ตัวนำสัญญาณ) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ถ้าหุ้มด้วยทองแดง CCS (Copper Covered Steel)จะบอกเป็น % ของทองแดงหุ้มหรือบางครั้งจะใช้เป็นทองแดงล้วนไปเลย สาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่ใช้เป็นแกนทองแดงล้วนเพราะ ราคาทองแดงราคาสูง และกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะไหลผ่านตัวนำที่บริเวณพื้นที่ผิวของวัตถุ
           2. Insulator (ฉนวนหุ้ม) ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน จะใช้เป็นโฟม หรือ PE แล้วหุ้มทับด้วยเทปอลูมิเนียม
             3. Wire Braid Shield (ชิลด์หรือเส้นถัก) ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนี่ยมและทองแดง ป้องกันการแพร่กระจายของสัญญาณรบกวน และการกระจายของสัญญาณออกมาภายนอก จะบอกเป็น % คือพื้นที่ความหนาแน่นที่ในการถัก เช่น 60% 90% 95% สูงสุดอยู่ที่ 95% หรือจำนวนของเส้นที่ใช้ในการถัก เช่น 112, 120, 124, 144 เส้นยิ่งมากก็ยิ่งช่วยในการนำสัญญาณได้ดี และป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ทำให้เดินได้ในระยะที่ไกลขึ้นและป้องกันการกวนของสัญญาณจากภายนอกได้ดี
 4.Jacket(เปลือกหุ้มสาย) ทำหน้าที่หุ้มสายทั้งหมด ถ้าใช้ภายในจะทำด้วย PVC (Polyvinylchloride) ส่วนภายนอกจะใช้วัสดุที่เป็น PE (Polyethylene ) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถป้องกันน้ำและทนแดด สามารถใช้ภายนอกได้
        สายที่ส่วนมากที่นิยมใช้สำหรับกล้องวงจรปิดจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด มาตรฐานของสายสัญญาณ RG ระยะที่แนะนำมีดังนี้

 RG59 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 350 เมตร ขนาดของสาย จะมีขนาดเล็กกว่ายืดหยุ่นกว่าเหมาะสำหรับเดินระยะไม่ไกลมาก ตัวสายดัดโค้งงอได้ง่าย 

 RG6   สามารถเดินได้ไกล ระยะ 450 เมตร เป็นที่นิยมที่สุดเพราะราคาถูกเดินได้ระยะไกลกว่าสายไม่แข็งมาก 

 RG11 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 750 เมตร เหมาะสำหรับเดินภายนอกอาคารที่ระยะไกลๆ ขนาดของสายเส้นจะใหญ่กว่าทุกแบบ
        ถ้าระยะที่เกินกว่านี้ส่วนมากจะใช้ไฟเบอร์ออฟติกเพื่อทำการแปลงสัญญาณจาก Analog เป็นคลื่นแสงแบบดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณกลับมาเป็นสัญญาณ Analog ที่ใช้กับกล้องอีกครั้ง เช่น ไฟเบอร์ออฟติก แบบมัลติโหมด สามารถเดินได้ถึง 2 กิโลเมตร ส่วนถ้าเป็น Single Mode สามารถเดินได้ถึง 80 กิโลเมตรกันเลยทีเดียว
   สรุป การใช้เลือกใช้สายในการใช้งานกล้องวงจรปิดควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเช่นหากต้องการเดินในที่พักอาศัยระยะไม่ไกลก็ใช้สายที่วัสดุ PVC หรือที่เป็นแบบสีขาว ก็อาจจะเพียงพอแล้วเพราะสามารถดัดโค้งงอได้ง่ายกว่าแถมประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า ถ้าเดินข้างนอกระยะไม่ไกลมากก็ใช้เป็นสายที่ทำจาก PE ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ หรือถ้าเดินผ่านส่วนของไฟโรงงานที่เป็น 3 เฟสหรือ มอเตอร์และหม้อแปลงขนาดใหญ่ก็แนะนำให้เดินสายไฟเบอร์ออฟติกไปเลย แต่ราคาก็จะขยับขึ้นมาแต่ได้ความเสถียรเพราะไฟเบอร์ออฟติกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่สามารถรบกวนคลื่นสัญญาณแสงได้

______________________________________________________________________________

Click ดูภาพต้นฉบับ


 เครื่องบันทึกภาพ ( Video Recorder)เครื่องบันทึกภาพรุ่นแรก ที่ใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด จะเป็นชนิดจานม้วน (Reel) ขนาด 3/4 นิ้ว และขนาด 1/2 นิ้ว ต่อมาพัฒนาเป็นชนิดตลับ (Cassette) ก็ยังคงใช้ขนาด 3/4 นิ้วอยู่ จนมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเป็นขนาด 1/2 นิ้ว ในอดีตเทปชนิดตลับมีอยู่ 2 ระบบ คือ Betamax ของบริษัท โซนี่ และ VHS ของบริษัท JVC ต่อมาในปัจจุบันคงเหลือแต่ระบบ VHS เท่านั้นได้มีการพัฒนาเป็น S-VHS เพื่อที่จะให้ได้คุณภาพของสีที่ดีกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้พยายามที่จะทำการบันทึกภาพลงในแผ่นแม่เหล็กของคอมพิวเตอร์ ให้ได้ดีเท่ากับหรือดีกว่า ที่ใช้บันทึกด้วยเทปชนิดตลับ
      เครื่องบันทึกภาพ เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับระบบโทรทัศน์วงจรปิดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าสามารถจะเก็บภาพต่างๆไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในภายหลังได้ เครื่องบันทึกภาพทั่วไปจะบันทึกภาพได้ตามความยาวของเนื้อเทปที่ใช้ เช่น เนื้อเทปมีความยาว 180 นาที ก็จะสามารถบันทึกได้ 180 นาที ในระบบ Standard Play และจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ถ้าบันทึกด้วยระบบ Long Play
เครื่องบันทึกภาพส่วนมากที่นิยมใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด จะเป็นชนิดหน่วงเวลา (Time-Lapse) โดยที่ใช้ม้วนเทปความยาวเพียง 180 นาที แต่สามารถที่จะบันทึกได้ตั้งแต่ 3 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง 72 ชั่วโมง ไปจนถึง 960 ชั่วโมง แต่การบันทึกภาพที่ใช้เวลายาวนานแบบนี้ ภาพที่ได้จะไม่ต่อเนื่อง ยิ่งใช้เวลานานมากขึ้นเท่าใด ความต่อเนื่องของภาพก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ การตั้งระยะเวลายาวๆ เหมาะกับการใช้งานในบางกรณีเท่านั้น เช่น ใช้ร่วมกับระบบเตือนภัย เป้นต้น
        เครื่องบันทึกวิดีโอแบบดิจิตอล (Digital Video Recorder, DVR) หรือ เครื่องบันทึกวิดีโอส่วนบุคคล (Personal Video Recorder, PVR) เป็นอุปกรณ์ที่บันทึกวิดีโอในรูปแบบดิจิตอลไปยัง ฮาร์ดดิสก์ หรือหน่วยความจำภายในอุปกรณ์เอง เช่น portable media players ( PMP ) เล่นสื่อแบบพกพา (PMP) ที่มีซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ช่วยให้การจับภาพวิดีโอและการเล่นและจากดิสก์ได้ในตัว
         Digital Video Recorder การทำงานหลักๆ คือการนำภาพวีดิโอมาประมวลผลแล้วทำการบันทึกภาพที่ประมวลผลในหน่วยความจำ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือหน่วยความจำอื่นๆ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
              1. Analog/Digital  คือ ทำงานแบบ อนาล็อกเป็นดิจิตอล เช่น กล้องวงจรปิดที่เป็นอนาล็อก ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกภาพที่เป็นระบบดิจิตอล
              2. Digital/Digital คือ การทำงานแบบ ดิจิตอลเป็นดิจิตอล เช่น กล้องวงจรปิดที่เป็นกล้อง Network Camera หรือเรียกว่ากล้องไอพี ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกภาพ (Network Video Recorder, NVR)ที่ระบบดิจิตอลผ่านทางเครือข่ายโปรโตคอล (Network Protocol) TCP/IP
การเลือกใช้ระบบกล้องวงจรปิดให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
              ตามที่กล่าวมาจะมีการใช้งานในลักษณะ Analog/Digital จะนิยมใช้งานมากกว่า จากเหตุผลในเรื่องของงบประมาณและการติดตั้ง เนื่องจากระบบ อนาล็อกเป็นดิจิตอลเป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง, การใช้งาน, และมีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับระบบ Digital/Digital ซึ่งมีระบบที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่า ส่วนใหญ่จะใช้ในระบบกล้องวงจรปิดขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วน, ท่าอากาศยาน, หรือระบบที่ติดตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่กันคนละจังหวัด, ประเทศ, หรือคนละทวีป แต่ระบบสามารถเชื่อมต่อและบันทึกภาพจากจุดเดียวหรือหลายๆ จุดในกรณีจุดใดจุดหนึ่งเกิดปัญหาขัดข้องได้ และการทำงานในลักษณะดังกล่าวจะเป็นแบบอัตโนมัติ และสามารถติดตั้งระบบตรวจจับ เช่น การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ  โดยการจดจำใบหน้า (Face recognition System) เพื่อส่งข้อมูลไปให้กับตำรวจสากลเพื่อติดตามคนร้ายจากใบหน้าผ่านระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น แต่ในปัจจุบันระบบ Analog/Digital ก็ได้ถูกพัฒนาเพื่อเชื่อต่อกับระบบเครือข่ายด้วยเช่นกัน จึงได้มีการออกแบบระบบใหม่ขึ้นมาใช้เรียกว่า ระบบแบบไฮบริด (Hybrid CCTV System) ซึ่งจะรวมกันทั้ง 2  ระบบนี้ไว้ด้วยกัน

______________________________________________________________________________

มาตราฐานของกล้อวงจรปิดคืออะไร


เห็นพาดหัว "กล้องวงจรปิดกับมาตรฐาน IP" แล้วอยากให้ผู้ที่ใช้กล้องวงจรปิด รับรู้ซึ่งถือเป็นสำคัญของผู้ใช้กล้องวงจรปิดว่าได้มับมาตรฐานจากผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดหรือไม่ หลายครั้งที่เราได้กล้องวงจรปิดที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะความไม่เข้าใจ ไม่รู้หรือเพราะราคาถูก ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ได้กล้องวงจรปิดไม่ได้คุณภาพดี ทำให้อาจจจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินของท่านเกินความจำเป็น
วันนี้เลยนำบทความเรื่องมาตรฐานวงจรปิดมาให้ทราบกันเป็นความรู้
IP - Ingress Protection Ratings คือมาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถในการปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกทั้งหลาย ในกรณีของกล้องวงจรปิดมันคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถของตัวถังของกล้องในการป้องกันวงจรภายในจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  ซึ่งแปลความได้ว่าเป็นความทนทานในการใช้งานของกล้องนั่นเอง
มาตรฐานนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures - IP Code), ซึ่งการจัดอันดับของการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักซึ่งหลักแรกจะแแสดงความสามารถในการป้องกันของแข็ง และหลักที่สองจะเป็นความสามารถในการป้องกันของเหลว รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX คือตัวเลขดังกล่าว เช่น IP45 IP66 เป็นต้น
ความหมายของตัวเลขหลักแรก
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตร เช่น การเผลอไปจับตัวกล้องด้วยมือ
2 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตร เช่น เผลอแตะด้วยนิ้ว
3 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไป  เช่น เครื่องมือ สายไฟ
4 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ และสายไฟขนาดเล็ก
5 = สามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถป้องกันฝุ่นได้
ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันน้ำหยดใส่ได้ เช่น หยดน้ำที่เกิดจากความชื้น
2 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง
3 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน  60 องศาจากแนวตั้ง
4 = สามารถป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
5 = สามารถป้องกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถเปียกน้ำได้แต่ไม่นาน เช่น โดนฝน
7 = สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร
8 = สามารถใช้งานใต้น้ำได้
ดังนั้นกล้องวงจรปิดตามมาตรฐาน IP66 คือ กันฝุ่นได้ ตากฝนได้นั่นเอง
ลองพิจารณาดูว่ากล้องวงจรปิดของท่านป้องกันหรืออยู่มาตรฐานที่ท่านได้รับหรือไม่อย่างไร ท้ายสุดหวังว่าคงจะได้ความรู้เรื่องของมาตรฐานกล้องวงจรปิด คราวนี้ใครถามหรือบอกเราก็พอจะได้มีความรู้ไม่ได้ถูกหลอกอีกต่อไป..คงจะมีประโยชน์สำหรับคนเพื่อนๆ ที่มีกล้องวงจรปิด หรือผู้ที่คิดจะซื้อกล้องวงจรปิดนะครับ
ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อโจรภัย เช่นเปิดร้านค้า ร้านอินเตอร์เน็ต หรือบ้านพักอาศัยของท่านให้ปลอดภัย อย่าลังเลที่จะติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่หากว่าไม่รู้จะเลือกซื้อกล้องชนิดใด แบบใด ในพื้นที่ ก็สามารถจะปรึกษาและขอคำแนะนำได้ที่ 096-0370623,080-5003299

ติดต่อ 096-0370623 Line: mickey80 

อีเมล gigabitthai@gmail.com


กล้องวงจรปิด เชียงราย, เชียงราย กล้องวงจรปิด, กล้องวงจรปิดราคาส่ง, กล้องวงจรปิดเชียงราย, กล้องวงจรปิดเชียงราย, กล้องวงจรปิดเชียงใหม่, cctv, cctvเชียงราย, เชียงรายcctv, ราคาส่ง กล้อง, ราคาถูก, กล้องวงจรปิดพะเยา, กล้องวงจรปิดน่าน, กล้องวงจรปิดแม่ฮอ่องสอน, กล้องวงจรปิดwatashi, กล้องcctvขาย, กล้องวงจรปิดจำหน่าย, กล้องวงจรปิดลำพูน, กล้องวงจรปิดถูก, กล้องวงจรปิดยี่ห้อไหนดี, ติดกล้องวงจรปิด, กล้องวงจรปิด เชียงของ, กล้องวงจรปิด เทิง, กล้องวงจรปิด พาน, กล้องวงจรปิด แม่สาย, กล้องวงจรปิด เวียงป่าเป้า, กล้องวงจรปิด พญาเม็งราย, กล้อวงจรปิด แม่ฟ้าหลวง, ระบบอินเตอร์เน็ตหอพัก เชียงราย, ระบบอินเตอร์เน็ตโรงแรม, ระบบสแกนลายนิ้วมือ, เครื่องทาบบัตร, ระบบประตูคีย์การ์ด, ระบบคอมพิวเตอร์,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น